top of page
britrocker1234

ใช้งานเสาเข็มไมโครไพล์ เมื่อเกิดเหตุการณ์บ้านทรุด


ภาพจาก : วันเอ็มคอนกรีต



เสาเข็มไมโครไพล์ น่าจะเป็นที่รู้จักสำหรับหลายๆ ท่าน ในแง่ของรูปลักษณ์ในแบบหน้าตัดตัวไอ เพราะหน้าตัดในลักษณะดังกล่าวนี้ มีความโดดเด่น หรือมีข้อดีมากกว่าเสาเข็มในหน้าตัดอื่นๆ ที่มีลักษณะเป็นแบบไมโครไพล์ด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะในด้านของลักษณะรูปแบบ ที่มีการใช้งานกับงานฐานราก หรืองานต่อเติม หรืองานที่ต้องแก้ไขปัญหาการทรุดของตัวบ้าน โดยการตอบโจทย์ดังกล่าวนี้ อาจจะเป็นลักษณะของงานก่อสร้าง ที่มีความสะดวก ในพื้นที่จำงานที่ต้องเข้าไปแทรกระหว่าง สิ่งก่อสร้างเดิม โดยเป็นอุปสรรคของงานต่อเติม หรืองานแก้ปัญหาบ้านทรุดกันมาพอสมควรอยู่แล้ว ดังนั้นเสาเข็มที่มีน้ำหนักเบา มีเครื่องมือที่เข้าสู่หน้างาน ที่ไม่ได้มีพื้นที่เอื้ออำนวยนัก จะเป็นเสาเข็มที่ตอบโจทย์ ความต้องการของช่างได้เป็นอย่างดี เพราะฉะนั้นแล้วเสาเข็มไมโครไพล์ จึงเป็นสิ่งแรกที่ช่างต้องนึกถึงทันที เมื่อมีการเข้าไปแก้ไขปัญหาบ้านทรุด หรือเข้าไปต่อเติมบ้านให้กับลูกค้า


ชั้นดินที่เหมาะสมกับเสาเข็มไมโครไพล์

ในเรื่องของชั้นดินที่เสาเข็มในประเภทไมโครไพล์นั้น มักจะถูกเลือกใช้งานนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นชั้นดินอ่อน ที่จะอยู่ในชั้นบนสุดของชั้นดิน แต่อาจจะมีชั้นดินแข็งอยู่ในส่วนล่าง โดยชั้นดินในประเภทนี้ ถือว่าเป็นชั้นดินที่มักพบในบ้านพักอาศัย ตามชุมชนเมืองทั่วไป ที่มีการสร้างบ้านพักอาศัย โดยถ้าหากเป็นขั้นตอนของการต่อเติม หรือซ่อมแซมที่ทรุดนั้น เสาเข็มชนิดอื่นๆ มักจะไม่สามารถตอกจนลึกถึงชั้นดิน ที่เป็นชั้นดินแข็งได้ ด้วยขนาดของเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งจะแตกต่างจากเสาเข็มไมโครไพล์ ที่ทำให้เข้าถึงระดับชั้นความลึกได้มากกว่า ทำให้ได้งานตอกเสาเข็มที่มีคุณภาพ จะไม่เกิดปัญหาตามมาภายหลัง



ขยายความการตอบโจทย์งานต่อเติม หรือซ่อมแซมในพื้นที่แคบ

ส่วนใหญ่เราจะพบเห็น พื้นที่การต่อเติม หรือการเข้าซ่อมแซมส่วนที่ทรุด ที่มีพื้นที่โดยรวม ประมาณ 5x5 เมตร ซึ่งชัดเจนเลยว่า เป็นอุปสรรคแน่ๆ สำหรับเสาเข็มขนาดปกติทั่วไป ซึ่งถ้าหากไม่เลือกใช้เสาเข็มไมโครไพล์ ถือว่าเป็นไปได้ยากพอสมควร สำหรับการที่จะเข้าสู่พื้นที่หน้างาน และสามารถตอกเสาเข็ม เข้าสู่ระยะความลึกที่เหมาะสมได้ โดยเฉพาะถ้ายิ่งเป็นพื้นที่ในกรุงเทพฯ และในพื้นที่ปริมณฑล ระยะชั้นดินอ่อน ที่กว่าจะผ่านไปได้ ต้องมีไม่ต่ำกว่า 17 เมตรเลยทีเดียว ดังนั้นเมื่อพื้นที่ก่อสร้างที่เพียงพอ ชุดเรื่องมือตอกเสาเข็ม ก็สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ได้ระยะความลึกที่เหมาะสมตามมาตรฐาน ทางด้านงานวิศวกรรมอีกด้วย



สรุป

ตามพื้นฐาน ของงานวิศวกรรมโครงสร้าง ระยะความลึกที่เหมาะสมของชั้นดิน จะแตกต่างกันไปแล้วแต่ตามพื้นที่ ของแต่ละจังหวัด แต่แน่นอนที่สุด ถ้าหากว่ามีการประเมิน ในด้านการนำเอาเสาเข็มแต่ละชนิด ไปใช้กับความลึก ที่อยู่ในประเภทงานต่อเติม หรืองานซ่อมแซมบ้านที่ทรุดนั้น ถือว่าเสาเข็มไมโครไพล์ จะเป็นเสาเข็มเพียงชนิดเดียวแน่นอนในยุคนี้ ที่เข้าสู่การทำงานได้อย่างเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์


-

-

-



บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง


ดู 1 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page