การสร้างบ้านของผู้คนในยุคโบราณ บ้านไม้ถือว่าเป็นสิ่งที่ผูกพันอยู่กับวิถีชีวิตกันมาช้านาน จนกระทั่งปัจจุบันนี้ ก็ยังคงมีหลายต่อหลายท่าน ที่ยังคงอยากจะยึดวิถีชีวิตในแบบยุคก่อน ด้วยการยังคงอยู่อาศัยอยู่ในบ้านไม้กันอยู่ เพราะด้วยความสะดวกสบาย ในแนวทางการใช้ชีวิตแบบวิถีเก่า และว่ากันว่า บ้านไม้นั้นจะให้ความร่มเย็นสำหรับผู้อยู่อาศัย มากกว่าอุณหภูมิที่อยู่ในส่วนของบ้านคอนกรีต ดังนั้นจึงเป็นสาเหตุที่ประชากรในเจนเบบี้บูมเมอร์ ยังคงรู้สึกว่า ความปลอดภัยและความสะดวกสบาย ที่ต้องการได้จากบ้านพักอาศัยนั้น ยังคงเป็นบ้านไม้เท่านั้น ที่ยังคงตอบโจทย์การใช้ชีวิตพวกเขาอยู่ โดยในทุกวันนี้ สำหรับนวัตกรรมของงานก่อสร้างนั้น เราต่างก็พบว่าการพัฒนาและผสมผสาน เอาสิ่งใหม่ๆ จากการพัฒนาในงานก่อสร้าง ให้เข้ากับการคงอยู่ของวิถีการก่อสร้างแบบเดิม ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนที่สุด จากการนำเอาเสาคอนกรีต หรือเสาตีนช้าง มาผสมผสานใช้กับส่วนของบ้านไม้นั่นเอง
ประยุกต์เสาตีนช้างกับบ้านไม้
ในส่วนของลักษณะภายนอกของเสาตีนช้าง ปัจจุบันมีผู้ให้บริการจำนวนมาก ที่ทำให้มีในส่วนของปลายด้านบน ของเสาให้มีส่วนของบ่าในหลากหลายรูปแบบ บ่าซ้าย บ่าขวา หรือบ่าเว้นช่องว่างในส่วนกลางเป็นต้น เพราะจุดประสงค์ของการเพิ่มลักษณะของบ่าเสานั้น เป็นการทำขึ้นเพื่อให้เข้ากับการนำมาใช้กับส่วนของบ้านไม้โดยเฉพาะเลยนั่นเอง เพราะเป็นการทำในส่วนของบ่า เพื่อรับกับส่วนคานของตัวบ้านไม้ ซึ่งตามขั้นตอนที่พบเห็นโดยทั่วไปนั้น การก่อสร้างในส่วนของบ้านไม้ จะใช้เสาที่เป็นรูปแบบที่มาพร้อมกับภูมิปัญญาดั้งเดิมของคนไทยเรา ซึ่งเท่าที่ทราบกันนั้น ก็จะเป็นการเลือกที่จะใช้ไม้เนื้อแข็ง ที่มีความทนทานมากกว่าไม้ทั่วไป มาตัดแต่งแปรรูป ให้กลายเป็นเสาบ้านนั่นเอง แต่ในขณะเดียวกัน เรื่องของอายุการใช้งาน และความทนทานต่อการรุกราน สร้างความเสียหายของปลวกนั้น ก็อาจจะไม่สามารถทำได้ดี ดังนั้นเมื่อมีการนำเอาในส่วนของเสาตีนช้างมาใช้งาน จะเป็นการเพิ่มความทนทานแข็งแรงขึ้นมาได้อีกในระดับหนึ่งเลยทีเดียวนั่นเอง
สร้างบ้านไม้ต้องใช้เสาเข็มด้วยหรือไม่ ?
ถ้าย้อนไปในช่วงของสมัยหลายร้อยปีก่อน วิถีชีวิตชาวไทยเรา ด้วยเทคโนโลยีในตอนนั้น ก็ชัดเจนอยู่แล้วว่ายังคงไม่มีการนำเอานวัตกรรมของคอนกรีต หรือปูนซีเมนต์ มาใช้กับการสร้างบ้านพักอาศัยแน่นอน ดังนั้นในช่วงยุคของวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม ที่เราพบเห็นบ้านพักอาศัย 1 ชั้น หรือ 2 ชั้น คงทำให้ทุกท่านพอเดาออกว่า บ้านไม้ที่อยู่ตรงหน้านั้น ไม่ได้มีการนำเอานวัตกรรมของการตอกเสาเข็ม เพื่อค้ำยันโครงสร้างของบ้านมาใช้แน่นอน ซึ่งก็ต่อเนื่องกันมาจนปัจจุบัน ที่เรายังคงพบเห็นการใช้วิธีการสร้างในแบบดั้งเดิมไว้อยู่ ซึ่งยิ่งถ้าเป็นโครงสร้างบ้าน ที่เป็นไม้ทั้งหมดนั้น การนำเอาเสาตีนช้างมาประยุกต์ใช้ และนำเอาขั้นตอนต่างๆ ของการฝังเสาตีนช้าง ที่มีการขุดหลุมลึกไม่ต่ำกว่า 50 ซม. มีการใช้คอนกรีตเททับตีนเสา หรือกลบหลุมของเซา ซึ่งก็บวกเข้ากับสภาพดินของประเทศไทยเรา ที่มีความแข็งมากพอสมควร ในชั้นดินที่ไม่ต้องเจาะลงไปลึกเกินหนึ่งเมตรอยู่แล้ว ทำให้บ้านไม้ที่มีการสร้างเพื่ออยู่อาศัยกันตั้งแต่โบราณ หรือจนกระทั่งตอนนี้ที่ใช้เสาตีนช้างมาผสมผสานเข้ากัน ก็ยังคงไม่จำเป็นต้องใช้เสาเข็มในการค้ำยันรับแรงแต่อย่างใด
สรุป
ปัจจุบันนี้การใช้ชีวิต ภายใต้โครงสร้าง และการตกแต่งตามแนวทางของสถาปัตยกรรม ที่มีความเป็นไม้ทั้งโครงสร้าง ทั้งภายนอกและภายใน ยังคงเป็นสิ่งที่บ่งบอกความเป็นไทยเราได้อย่างชัดเจน แม้ว่าจะมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างบางอย่าง ยกตัวอย่างเช่น เสาตีนช้าง ที่นำเข้าไปผสมผสาน เข้าเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของโครงสร้างแล้ว แต่ก็เป็นเพียงบางมุมที่เพิ่มความแข็งแรงของตัวบ้านขึ้นเท่านั้น แต่ความเป็นวิถีไทยที่แสดงออกผ่านบ้านไม้ ยังคงอยู่อย่างชัดเจนเสมอ
Comments