top of page
britrocker1234

ติดตั้งรั้วสำเร็จรูปยังไงให้ตรงกับข้อกฎหมาย


การติดตั้งรั้วบ้านมีปัจจัยอื่นๆ ที่สำคัญที่ห้ามมองข้ามเด็ดขาด โดยเฉพาะวันนี้เราจะนำอีกเรื่อง ที่หลายท่านหลงลืมและมองข้ามกันไป เกี่ยวกับข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการติดตั้งรั้วบ้าน ซึ่งบางครั้งบางข้อนั้น หลายท่านอาจจะเคยทราบมาก่อน แต่ก็อาจจะมีบางข้อที่หลงลืมหรืออาจจะไม่เคยรู้มาก่อนเลยก็มี ซึ่งการติดตั้งรั้วโดยไม่คำนึงถึงข้อกฎหมายนั้น อาจจะมีปัญหาส่งผลโดยตรงกับการตรวจงานของเทศบาล หรือการร้องเรียนจากเพื่อนบ้าน ที่อาจจะทำให้ส่งผลเดือดร้อนแก่เพื่อนบ้านก็ได้ โดยเฉพาะความสะดวกของคนยุคนี้ ที่จะสร้างบ้านใหม่ ก็สามารถเลือกรั้วสำเร็จรูปมาติดตั้งได้ง่ายดายทันที มีขั้นตอนการติดตั้งที่สามารถแล้วเสร็จได้ภายในวันเดียว โดยในข้อนี้อาจจะต้องมีการศึกษาข้อกฎหมาให้ดีก่อน เพื่อให้มั่นใจว่า ภายใต้ความสะดวกของการติดตั้งรั้วสำเร็จรูปนั้น จะไม่มีปัญหาด้านข้อกฎหมายตามมานั่นเอง


ก่อนจะติดตั้งรั้วสำเร็จรูป ต้องดูข้อมูลจากข้อกฎหมายดังนี้

ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ตามกฎหมายของประเทศเรานั้น ไม่ได้มีข้อใดที่บังคับว่า การสร้างบ้านนั้นจำเป็นต้องมีรั้ว เพราะถือว่าเป็นความสะดวกของเจ้าของบ้านหรือผู้อยู่อาศัย แต่ส่วนใหญ่ในประเทศไทยเรา ไม่ว่าใครที่สร้างบ้านต่างก็ต้องการความปลอดภัย และความเป็นส่วนตัว จึงต่างก็ต้องมีรั้วบ้านเป็นเครื่องรับประกันไว้ก่อน ซึ่งข้อแรกของการจะมีรั้วบ้าน หรือการติดตั้งรั้วสำเร็จรูป หรือด้วยวิธีการก่อสร้างแบบใดๆ ก็ตาม ต้องคำนึงถึงความสูงก่อน เพราะตอนนี้ข้อบังคับที่จะผ่านกฎหมายก่อสร้างได้โดยไม่ต้องขออนุญาตเลยนั้น ความสูงจะต้องไม่เกิน 3 เมตร แต่ถ้าหากว่าเกินนั้น ตามกฏหมายต้องขออนุญาตทางหน่วยงานท้องที่ก่อสร้างก่อนจึงจะสามารถทำได้ โดยเฉพาะถ้าเป็นบ้านที่ก่อสร้างและมีรั้วในบริเวณที่ติดถนนสาธารณะ หรือทางเดินเท้านั้น จะมีข้อกำหนดไว้ที่ 3 เมตรนั่นเอง


กรณีของการสร้างรั้วติดกับที่ดินบ้านพักอาศัยข้างเคียงที่ติดกัน

ในกรณีนี้ถือว่ามีข้อพิพาทกันมากพอสมควรในประเทศเรา เพราะการสร้างนั้นในกรณีของที่ดินติดกันกับบ้านหลังอื่น ตามกฏหมายนั้นน่าจะต้องมีการตกลงกันระหว่างสองฝ่ายก่อน ซึ่งถ้าเป็นการที่ ที่ดินมีการติดกันเลย การสร้างก็อาจจะมีโอกาสที่จะกินพื้นที่ด้านข้าง ซึ่งก็อาจจะเข้าข่ายการบุกรุกที่ดินผู้อื่น ท่านอาจจะโดนข้อกฎหมายนี้เล่นงานได้ ทางที่ดีการตกลงเงื่อนไขร่วมกันนั้น จะทำให้ตัดปัญหานี้ไปได้ โดยส่วนใหญ่ จะมีการยินยอมที่จะเป็นกรรมสิทธิ์ที่ถือครองร่วมกัน การออกค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างเช่นกัน ยิ่งถ้าเป็นรั้วสำเร็จรูปนั้น ค่าใช้จ่ายก็อาจจะต่างจากการติดตั้งรั้วแบบก่ออิฐขึ้นมา ดังนั้นการพูดจาตกลงกันให้เป็นลายลักษณ์อักษรนั้น จะทำให้ข้อนี้จะทำให้เกิดความพอใจ และตกลงกันได้ในระยะยาวของทั้งสองฝ่ายนั่นเอง


สรุปตอนท้าย

จริงๆ แล้วการสร้างรั้วนั้น ยังมีกฎหมายข้ออื่นๆ ที่กำกับอยู่อีกจำนวนหนึ่ง ทางที่ดีเมื่อท่านเจ้าของบ้าน อยากจะสร้างบ้าน และต้องการทำรั้วบ้านของท่าน ก่อนที่จะติดสินใจซื้อความสะดวกสบาย ด้วยการเลือกรั้วสำเร็จรูปนั้น ต้องศึกษาข้อกฎหมายให้ครบถ้วนก่อน ยิ่งถ้าเป็นที่ดินปลูกสร้างที่ติดกับดินของผู้อื่น จุดนี้ถือว่าสำคัญพอสมควรเลยทีเดียว เพื่อการอยู่อาศัยร่วมกันอย่างราบรื่นที่สุดในอนาคต ต้องรู้กฏหมายและมีทางออกของการตกลงกันระหว่างเพื่อนบ้านไว้ จะเป็นหนทางที่จะทำให้ท่านสามารถสร้างรั้วบ้านได้อย่างลุล่วงไปได้ด้วยดี ไม่สร้างความเดือดร้อน หรือเป็นข้อพิพาทกับเพื่อนบ้าน

ความคิดเห็น


bottom of page