top of page
britrocker1234

เสาไฟฟ้า เสาคอนกรีตที่ถูกสร้างขึ้นอย่างพิถีพิถัน


เรื่องของเสาคอนกรีตที่ถือว่าสำคัญมากพอๆ กับโครงสร้างในส่วนประกอบอื่นๆ ที่นอกเหนือจากตึกรามบ้านช่อง ก็น่าจะต้องเป็นเสาไฟฟ้านี่เอง ที่ถือว่าความทนทาน และความแข็งแรงนั้นถือว่าจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องมีเป็นอันดับหนึ่ง ต้องนำหน้าทั้งราคาและความสะดวกในการติดตั้งไว้ก่อนด้วยซ้ำไป เพราะเสาไฟฟ้าจะรับหน้าที่ที่จะต้องแบกรับไฟฟ้าหลากหลายแรงดัน และยังต้องมีความทนทานที่จะปักหลักอย่างมั่นคง ภายใต้ความเสี่ยงต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนที่มีบ้านพักอาศัยอยู่บริเวณเสาไฟฟ้า หรือแม้กระทั่งการสัญจรไปมาผ่านเสาไฟฟ้าอยู่เป็นประจำ เพราะฉะนั้นกรรมวิธีการผลิตและปัจจัยอื่นๆ ที่กว่าจะมาเป็นเสาไฟฟ้านั้นถือว่าต้องมีความเข้มข้น และต้องพิถีพิถันเป็นพิเศษแน่นอนอยู่แล้ว


คอนกรีตที่ใช้ผลิตเสาไฟฟ้า

คอนกรีตอัดแรง ถือว่าเป็นส่วนผสมที่มาตรฐานและคลายกังวลให้กับทุกท่านได้แน่นอน ถ้าหากว่าท่านได้เห็นคำว่า คอนกรีตอัดแรง เป็นคุณสมบัติที่อยู่ในส่วนประกอบของการผลิต ซึ่งไม่ว่าจะเป็นเสาไฟฟ้าที่มีขนาดเริ่มต้นตั้งแต่ 6 เมตรที่ใช้งานตามหลังคาเรือนทั่วไป นำสายไฟเข้าสู่ชุมชนหมู่บ้านเล็กๆ ตามจังหวัดท้องถิ่นห่างไกล หรือแม้กระทั่งเสาไฟฟ้าแรงสูงขึ้นมา ตั้งแต่ความสูงที่ 10 เมตร ไปจนถึง 20 เมตรก็ตาม เสาเหล่านี้จะอยู่ภายใต้การผลิตที่อยู่ในกรรมวิธีและขั้นตอน ที่ต้องใช้คอนกรีตอัดแรง คุณภาพสูงที่สุดของเทคโนโลยีการก่อสร้าง และยังต้องมีการเสริมเหล็กเพื่อให้สามารถมีความทนทานที่มากขึ้น มิติของแรงที่สามารถต้านทานได้ที่ต้องมากขึ้นกว่าเดิมที่เคยเป็นมา ซึ่งต้องเป็นคอนกรีตอัดแรงในสเปคนี้เท่านั้น หน่วยงานรัฐจึงจะยอมให้เอกชนที่ผลิตเสาไฟฟ้าจำหน่าย ทำเสาคอนกรีตชนิดนี้ออกมาขายตามอุตสาหกรรมงานก่อสร้างทั่ว ทั้งที่ภาครัฐจัดซื้อเพื่อใช้งานเดินไฟ และทางเจ้าของบ้านทั่วไปสั่งซื้อ เพื่อเดินไฟเข้าไปยังพื้นที่ของตนเองก็ตาม


กรรมวิธีหล่อคอนกรีตหุ้มลวดเหล็กจนกลายมาเป็นเสาไฟฟ้า

ข้อกำหนดพื้นฐานของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จะระบุไว้ชัดเจน สำหรับการผลิตของเอกชน ที่จะทำเสาไฟฟ้าออกจำหน่าย ซึ่งขั้นตอนที่จำเป็นที่ต้องมีแน่ๆ และถือว่าขาดไม่ได้ถ้าหากว่าจะเป็นการผลิตจำหน่ายตามกฏหมายควบคุม ก็คือการผลิตตามขั้นตอนที่ต้องมีการหล่อคอนกรีตอัดแรง และมีการหุ้มลวดเหล็กที่ต้องมีสเปคเป็นลวดเหล็กกล้า ซึ่งกรรมวิธีนี้จะถือว่าเป็นมาตรฐานทั่วไป ของงานก่อสร้างคอนกรีตอัดแรงอยู่แล้ว และนอกจากนั้นนอกเหนือจากส่วนประกอบนี้แล้ว ยังต้องมีส่วนประกอบพื้นฐานอื่นๆ สำหรับการติดตั้งเสาไฟฟ้า เช่น ตอม่อ , ฐานเสาไฟฟ้า คอนสปัน ที่ทำหน้าที่เป็นเสาเข็มเพื่อช่วยค้ำยันให้ลึกไปจนถึงระดับดินดาน โดยกรณีของเสาไฟฟ้าที่มีความสูงเกิน 12 เมตรนั้นจะต้องมีการใช้คอนสปันอยู่แล้ว เพราะความสูงและน้ำหนักของเสาไฟฟ้า ทำให้ต้องรองรับความเสี่ยงทั้งหมดไว้ให้ดีด้วยโครงสร้างที่รัดกุมเป็นพิเศษนั่นเอง


สรุป

เชื่อเลยว่ากว่าจะมาเป็นเสาคอนกรีต ที่คอยรับน้ำหนักสายไฟฟ้าและอุปกรณ์อื่นๆ ที่มีน้ำหนักมากพอสมควร และไหนจะต้องรับแรงจากธรรมชาติ ทั้งลมทั้งฝนและอื่นๆ อีกนับไม่ถ้วน เสาไฟฟ้าจะถูกกลั่นกรองมาแล้วอย่างถี่ถ้วน เพื่อความเป็นไปได้ที่จะต้องช่วยเซฟชีวิตของผู้เกี่ยวข้อง ให้ปลอดภัยตลอดอายุการใช้งาน ไม่ว่าจะกี่สิบปีของเสาไฟฟ้าที่มีอยู่นั่นเอง

ดู 22 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page